ปวดหูเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

คุณเคยอยู่ดีแล้วๆแล้วรู้สึกปวดหูขึ้นมาเฉยๆไหม แล้วไม่นานก็หายไปเอง

สำหรับอาการปวดหูนั้นจะมีความรู้สึกเจ็บข้างในหู บางคนอาจเจ็บหูข้างเดียวหรือบางคนเจ็บทั้งสองข้างก็มี ขึ้นอยู่กับว่าสาเหตุที่ทำให้เราปวดหูมาจากอะไร โดยปกติแล้วอาการปวดหูมักจะมาพร้อมกันอาการอื่นเสมอ เช่น เมื่อเราปวดหูแล้วมักจะได้ยินเสียงหวี่ๆข้างในหู และอาจมีน้ำไหลออกมาจากรูหู หรือบางทีก็ทำให้เราได้ยินเสียงไม่ค่อยชัดมากนัก

ซึ่งถ้าเด็กเล็กๆมีอาการปวดหูจะสังเกตได้จาก เด็กมักจะร้องไห้งอแง และชอบเอามือปัดที่หูตลอดเวลา

อาจะมีอาการตัวร้อนเป็นไข้ และไม่ค่อยกินนม สำหรับการปวดหูนั้นหากพบว่ามีการปวดและเกินหนึ่งหรือสองวันแล้วยังไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ แต่หากเป็นเด็กเล็กหรือทารกนั้นก็รู้สึกว่าลูกมีอาการผิดปกติที่หูควรพาไปพบแพทย์ทันทีไม่ต้องรอ เพราะอวัยวะภายในของเด็กยังไม่แข็งแรง และมีภูมิคุ้มกันเชื้อโรคมากพอ

ดังนั้นการพาไปให้แพทย์ตรวจรักษาจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด  สำหรับสาเหตุที่ทำให้ปวดหูนั้นอาจเกิดขึ้นได้ทั้งมาจาการที่เรามีปัญหาเกี่ยวกับหู หรือบางครั้งเรามีอาการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับหูแต่ก็สามารถมีผลกระทบมาถึงหูได้ด้วยเช่นกัน เช่น 

  1. สาเหตุที่มาจากหู คือ หูมีการติดเชื้อหรืออักเสบ ไม่ว่าจะเกิดจากหูชั้นนอก ชั้นกลางหรือชั้นในมีผลทำให้เราปวดหูได้ทั้งหมด หรือการที่เราเกิดอุบัติเหตุแล้วมากระแทกบริเวณหู การเอาอะไรแหย่เข้าไปในหูทำให้หูด้านในได้รับบาดเจ็บ การมีแมลงหรือน้ำเข้าไปในหู หรือมีสิวขึ้นที่หูสิ่งต่างๆเหล่านี้มีผลทำให้เกิดการปวดหูได้ทั้งหมดเช่นกัน
  2. เกิดมาจากการเป็นไข้หวัด อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เราปวดหูนั้นเกิดมาจากหวัดได้ ทั้งการที่เราสั่งน้ำมูกแรง หรือแม้แต่การที่เราเป็นโรคไซนัส ติดเชื้อในลำคอ หรือแม้แต่ฟันเป็นหนอง อาการต่างๆเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบถึงหูได้ทั้งหมด เพราะว่าภายในร่างกายของเรามีโพรงที่ทะลุถึงกันได้หมดเลย 

สำหรับการรักษาอาการปวดหูนั้น ต้องรักษาจากสาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดหู หากเป็นเพราะป่วยไข้ก็ต้องรักษาอาการป่วยไข้ให้หาย อาการปวดหูก็จะหายไปด้วย แต่ถ้าสาเหตุมาจากการเกิดอุบัติเหตุที่หู ควรให้หมอรักษาอาหารจะดีที่สุดและเราควรดูแลรักษาสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ อย่านำอะไรมาแหย่เข้าหู ระวังเรื่องน้ำเข้าหู ก็จะเป็นการดูแลหูเบื้องต้นที่ดีที่สุดแล้ว 

หากมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน โดยทั่วไปแพทย์จะทำการวิฉัยแล้วรักษา หากไม่รุนแรงมากนัก ก็ไม่ต้องพึ่ง เครื่องช่วยฟัง แต่หากมีอาการที่รุนแรง ทางการแพทย์จะแนะนำรุ่นที่เหมาะสมเพื่อการดำเนินชีวิตท่ง่ายขึ้น